วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559
นิทานเวตาล (สันสกฤต: वेतालपञ्चविंशति เวตาลปัญจวิงศติ แปลว่า นิทานเวตาล 25 เรื่อง) เป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ ซึ่งเล่าขานโดยกวีชื่อ ศิวทาส และได้ถูกเล่าขานกันต่อมากว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้ว โครงเรื่องหลักของนิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องการโต้ตอบตอบปัญหาระหว่างพระวิกรมาทิตย์ กษัตริย์แห่งกรุงอุชชิยนี กับเวตาล ปีศาจที่มีร่างกายกึ่งมนุษย์กับค้างคาว ซึ่งจะนำเข้าไปสู่นิทานย่อยต่างๆ ที่แทรกอยู่ในเรื่องนี้รวม 25 เรื่อง ลักษณะดังกล่าวคล้ายกับนิทานอาหรับราตรี หรือ "พันหนึ่งราตรี" ซึ่งเป็นนิทานชุดในซีกโลกอาหรับที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกชุดหนึ่ง
เนื้อหา
[ซ่อน]โครงเรื่อง[แก้]
พระวิกรมาทิตย์หรือพระวิกรมเสน กษัตริย์ในตำนานของอินเดียโบราณ ได้รับปากกับโยคีชื่อ "ศานติศีล" จะไปนำตัวเวตาล อมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายศพมนุษย์ผสมค้างคาว ซึ่งห้อยหัวอยู่กับต้นอโศก มาให้แก่ฤๅษีเพื่อใช้ในพิธีบูชาเจ้าแม่กาลี โดยมีพระธรรมธวัชผู้เป็นโอรสติดตามไปด้วย เมื่อพระองค์จับตัวเวตาลได้แล้ว เวตาลก็จะพยายามยั่วให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ โดยการการเล่านิทานอุทาหรณ์ต่างๆ แล้วให้พระวิกรมาทิตย์ตัดสินเรื่องราวในนิทานเหล่านั้น ด้วยขัตติยะมานะของกษัตริย์ทำให้พระวิกรมาทิตย์อดไม่ได้ที่จะตรัสพระราชวิจารณ์เกี่ยวเรื่องราวในนิทานอยู่เสมอ ผลก็คือเวตาลได้ลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกอันเป็นที่อยู่ของตน ทำให้พระวิกรมาทิตย์จำต้องกลับไปจับเอาเวตาลกลับมาใหม่ทุกครั้ง เป็นเช่นนี้อยู่ถึง 24 ครั้ง ในครั้งที่ 25 พระธรรมธวัชได้สะกิดเตือนมิให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสคำใดๆ ออกมา พระวิกรมาทิตย์ก็ระงับใจไม่เอื้อนพระโอษฐ์ตรัสพระกระแสใดๆ ออกมา เวตาลจึงยอมให้พระองค์พาตนไปให้โยคีศานติศีลนั้นได้
ท้ายเรื่องของนิทานเวตาลมีอยู่ว่า ระหว่างทางที่พระวิกรมาทิตย์พาเวตาลไปหาโยคีนั้นเอง เวตาลก็ได้เปิดเผยว่าแท้จริงแล้วโยคีศานติศีลมีความแค้นกับพระวิกรมาทิตย์อยู่ ซึ่งเป็นความแค้นที่ก่อโดยพระบิดาของพระวิกรมาทิตย์ จึง หวังที่จะปลง ชนม์ของพระองค์เสีย พร้อมกันนี้เวตาลก็แนะนำให้พระองค์ทำเป็นเชื่อฟังคำของโยคีนั้นแล้วหาทางฆ่าเสีย พระวิกรมาทิตย์ก็ได้ทำตามคำแนะนำดังกล่าว และรอดพ้นจากการทำร้ายของโยคีนั้นได้
นิทานเรื่องเวตาลนี้ เดิมได้เรียบเรียงเป็นร้อยกรอง ชื่อ ลิลิตเพชรมงกุฎ โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ถอดมาเพียงเรื่องแรกเท่านั้น (เรื่องพระวัชรมกุฎกับพุทธิศรีระ) ภายหลังพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส. ได้ทรงแปลจากฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากสำนวนแปลของ ซี.เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง ทำให้ฉบับภาษาไทยของ น.ม.ส. มีนิทานเวตาลทั้งหมด 10 เรื่อง[1] ต่อมา ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ได้แปลจากต้นฉบับเดิม ซึ่งเป็นอักษรเทวนาครี ภาษาสันสกฤต จนครบ 25 เรื่อง และภายหลังวรรณกรรมเรื่องนี้ก็ได้รับการแปลแปลงในหลากหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบการ์ตูนคอมมิคชื่อ "เวตาล" ซึ่งเป็นผลงานของ ภาณุ นทีนันท์ เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง จนกระทั่งเวตาลได้กลายเป็นอีกหนึ่งตัวละครที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี
นิทานเวตาล เป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ เรื่อง "เวตาลปัญจวิงศติ" หรือนิทานเวตาล 25 เรื่อง ซึ่งถูกเล่าโดยกวีชื่อ ศิวทาส และได้ถูกเล่าขานกันต่อมากว่า 2,500 ปีล่วงมาแล้วนิทานเรื่องเวตาลนี้ เดิมได้เรียบเรียงเป็นร้อยกรอง ชื่อ ลิลิตเพชรมงกุฎ โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ถอดมาเพียงเรื่องแรกเท่านั้น ในภายหลังพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (พระบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส) หรือ น.ม.ส. ได้ทรงแปลจากฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากสำนวนแปลของ ซี.เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง ทำให้ฉบับภาษาไทยของ น.ม.ส. มีนิทานเวตาลทั้งหมด 10 เรื่อง[1] ต่อมาศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ได้แปลจากต้นฉบับเดิม ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตอักษรเทวนาครี จนครบ 25 เรื่อง และภายหลังวรรณกรรมเรื่องนี้ก็ได้รับการแปลแปลงในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง จนกระทั่งเวตาลได้กลายเป็นอีกหนึ่งตัวละครที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี หัวข้อเรื่องของนิทานเวตาลทั้ง 25 เรื่องโดยสรุปมีดังนี้เรื่องที่ 1 เรื่องของเจ้าชายวัชรมกุฏ กับพระสหายชื่อ พุทธิศรีระ เรื่องที่ 2 เรื่องของนางมันทารวดี กับ พราหมณ์หนุ่ม 3 คน เรื่องที่ 3 เรื่องของนกแก้วชื่อ วิทัคธจูฑามณี ของพระเจ้าวิกรมเกศริน กับนกขุนทองชื่อ โสมิกา ของเจ้าหญิงจันทรประภา เรื่องที่ 4 เรื่องของพระเจ้าศูทรกะ กับพราหมณ์ผู้ซื่อสัตย์ชื่อ วีรวร เรื่องที่ 5 เรื่องของนางโสมประภา กับการเลือกคู่ครอง เรื่องที่ 6 เรื่องของวันฉลองพระแม่เคารี เรื่องที่ 7 เรื่องของพระเจ้าจัณฑสิงห์ กับสัตตวศีล ผู้ซื่อสัตย์ เรื่องที่ 8 เรื่องของบุตรทั้ง 3 ของพราหมณ์วิษณุสวามิน เรื่องที่ 9 เรื่องของการเลือกคู่ของเจ้าหญิงอนงครตี เรื่องที่ 10 เรื่องของนางมัทนเสนา ผู้ซื่อสัตย์เรื่องที่ 11 เรื่องของชายาทั้ง 3 ของพระเจ้าธรรมธวัช เรื่องที่ 12 เรื่องของพระเจ้ายศเกตุ กับทีรฆทรรศิน ผู้ภักดี เรื่องที่ 13 เรื่องของพราหมณ์ชื่อ หริสวามิน ผู้อาภัพ เรื่องที่ 14 เรื่องของนางรัตนาวดี บุตรีเศรษฐี ผู้หลงรักโจร เรื่องที่ 15 เรื่องของความรักของเจ้าหญิง ศศิประภา เรื่องที่ 16 เรื่องของเจ้าชาย ชีมูตวาหน กับนาคชื่อ ศังขจูฑะ เรื่องที่ 17 เรื่องของพระเจ้ายโศธน กับ นางอุนมาทินี บุตรีเศรษฐี เรื่องที่ 18 เรื่องของพราหมณ์จันทรสวามิน กับฤๅษีปาศุบต เรื่องที่ 19 เรื่องของภรรยาเศรษฐี กับธิดาชื่อ ธนวดี เรื่องที่ 20 เรื่องของพระเจ้าจันทราวโลก กับรากษส เรื่องที่ 21 เรื่องของนางอนงคมัญชรี เรื่องที่ 22 เรื่องของบุตรพราหมณ์ทั้ง 4 ผู้ขมังเวทย์ เรื่องที่ 23 เรื่องของฤๅษีเฒ่า วามศิวะ ผู้อยากเป็นหนุ่ม เรื่องที่ 24 เรื่องของนางจันทรวดี กับธิดาชื่อ ลาวัณยวดี กับเรื่องขนาดเท้าของนาง เรื่องที่ 25 เรื่องของพระเจ้าติรวิกรมเสน กับเวตาล
เรื่องย่อนิทานเวตาล
ณ ฝั่งแม่น้ำโคทาวรี มีพระมหานครแห่งหนึ่งตั้งอยู่นามว่า ประดิษฐาน ที่เมืองนี้ในสมัยบรรพกาลมีพระราชาธิบดีองค์หนึ่ง ทรงนามว่า ตริวิกรมเสน ได้ครองราไชศวรรย์มาด้วยความผาสุก พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าวิกรมเสนผู้ทรงเดชานุภาพเทียมท้าววัชรินทร์
ต่อมาได้มีนักบวชชื่อ ศานติศีล ได้นำผลไม้มาถวายทุกวันมิได้ขาด ซึ่งพระราชาแปลกใจ และได้ไปพบในคืนหนึ่งตามนัด ได้ถามถึงเหตุผลและเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ โยคีศานติศีลจอมเจ้าเล่ห์ได้ขอให้พระราชาตริวิกรมเสนนำเวตาลมาให้ตนเพื่อจะประกอบมหายัญพิธี
พระราชาผู้มีสัจจะเป็นมั่น ได้ไปนำเวตาลมาให้โยคีเจ้าเล่ห์ แต่เวตาลก็พยายามหน่วงเหนี่ยวด้วยการเล่านิทานทั้งสิ้น ๒๔ เรื่องด้วยกัน ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีคำถามให้พระราชาตอบ โดยมีข้อแม้ว่า หากพระราชาทราบคำตอบแล้วไม่ตอบ ศีรษะของพระราชาจะต้องหลุดจากบ่า และหากพระราชาเอ่ยปากพูดเวตาลก็จะกลับไปสู่ที่เดิม
และก็เป็นดังนั้นทุกครั้ง ที่พระราชาตอบคำถามของเวตาล เวตาลก็จะหายกลับไปสู่ต้นไม้ที่สิงที่เดิม พระราชาก็จะเสด็จกลับไปเอาตัวเวตาลทุกครั้งไป จนเรื่องสุดท้ายพระราชาไม่ทราบคำตอบ ก็ทรงเงียบไม่พูด เวตาลพอใจในตัวพระราชามาก เพราะเป็นพระราชาผู้ไม่ย่อท้อ ผู้มีความกล้าหาญ ทำให้เวตาลบอกความจริงในความคิดของโยคีเจ้าเล่ห์ ว่าโยคีนั้นแท้จริงแล้ว ต้องการตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร โดยจะเอาพระราชาเป็นเครื่องสังเวยในการทำพิธี และอธิบายถึงวิธีกำจัดโยคีเจ้าเล่ห์
เมื่อพระราชาเสด็จมาถึงโยคีตามที่นัดหมายไว้ ก็ปรากฎว่าโยคีได้เตรียมการทำอย่างที่เวตาลได้บอกกับพระราชาไว้ พระราชาจึงแก้โดยทำตามที่เวตาลได้อธิบายให้พระราชาฟัง พระราชาจึงได้ตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร และเวตาลได้บอกกับพระราชาตริวิกรมเสนว่า "ตำแหน่งนี้ได้มาเพราะความดีของพระองค์ ตำแหน่งนี้จะคอยพระองค์อยู่หลังจากที่ทรงเสวยสุขในโลกมนุษย์จนสิ้นอายุขัยแล้ว ข้าขอโทษในกาลที่แล้วมาในการที่ยั่วยวนประสาทพระองค์ แต่ก็ไม่ทรงถือโกรธต่อข้า บัดนี้ข้าจะถวายพรแก่พระองค์ ขอทรงเลือกอะไรก็ได้ตามใจปรารถนาเถิด" พระราชาก็ตรัสว่า "เพราะเหตุที่เจ้ายินดีต่อข้า และข้าก็ยินดีในความมีน้ำใจของเจ้าเช่นเดียวกัน พรอันใดที่ข้าจะปรารถนาก็เป็นอันสมบูรณ์แล้ว ข้าเพียงแต่อยากจะขออะไรสักอย่างเป็นที่ระลึกระหว่างข้ากับเจ้า นั่นก็คือนิทานที่เจ้ายกปัญหามาถามข้าถึงยี่สิบสี่เรื่อง และคำตอบของข้าก็ให้ไปแล้วเช่นเดียวกัน แลครั้งที่ยี่สิบห้าคือวันนี้ถือเป็นบทสรุป แสดงอวสานของเรื่อง ขอให้นิทานชุดนี้จงมีเกียรติแพร่กำจายไปในโลกกว้าง”
เวตาลก็สนองตอบว่า “ขอจงสำเร็จ โอ ราชะ บัดนี้จงฟังเถิด ข้าจะกล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีเด่นของนิทานชุดนี้ สร้อยนิทานอันร้อยรัดเข้าด้วยกันดังสร้อยมณีสายนี้ ประกอบด้วยยี่สิบสี่เรื่องเบื้องต้น แลมาถึงบทที่ยี่สิบห้า อันเป็นบทสรุปส่งท้าย นับเป็นปริโยสาน นิทานชุดนี้จงเป็นที่รู้จักกันในนามของเวตาลปัญจวิงศติ (นิทานยี่สิบห้าเรื่องของเวตาล) จงมีเกียรติยศบันลือไปในโลก และนำความเจริญมาสู่ผู้อ่านทุกคน ใครก็ตามที่อ่านหนังสือแม้แต่โศลกเดียว หรือเป็นผู้ฟังเขาอ่านก็เช่นเดียวกัน จักรอดจากคำสาปทั้งมวล บรรดาอมนุษย์ทั้งหลาย มียักษ์ เวตาล กุษมาณฑ์ แม่มด หมอผีและรากษส ตลอดจนสัตว์โลกประเภทเดียวกันนี้ จงสิ้นฤทธิ์เดชเมื่อได้ยินใครอ่านนิทาน อันศักดิ์สิทธิ์นี้”
พระศิวะได้ฟังเรื่องของต่าง ๆ ของเวตาลจบก็กล่าวชื่นชมในองค์พระราชาตริวิเสนมาก ซึ่งพระศิวะได้สร้างจากอนุภาคโดยให้มาปราบอสูรคนร้ายต่าง ๆ เมื่อพระราชาตริวิกรมเสนได้เป็นจอมราชันแห่งวิทยาธรทั้งโลกและสวรรค์แล้ว ก็เกิดความเบื่อหน่าย หันไปบำเพ็ญทางธรรมจนบรรลุความหลุดพ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)